Capitulum VIII. Taberna Rōmānā

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 8 สรรพนาม คำสรรพนามคือคำที่ใช้แทนที่คำนาม ในภาษาไทยเช่นคำว่า “ผม” “คุณ” “เขา” “มัน” เป็นต้น ในบทนี้เราจะดูคำสรรพนามบุรุษที่ 3 ในภาษาละติน สรรพนามบุรุษที่ 3 สามารถใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือคำนามนามธรรม ในที่นี้เราจะดูคำสรรพนาม 5 ประเภท ได้แก่ is: เขา เธอ มัน (สรรพนามระบุเฉพาะ dēmōnstrātīvum prōnōmen) quis: ใคร อะไร (สรรพนามคำถาม interrogātīvum prōnōmen) quī: คนที่ อันที่ (ประพันธสรรพนาม relātīvum prōnōmen) ille: คนนั้น อันนั้น (สรรพนามระบุเฉพาะ dēmōnstrātīvum prōnōmen) hic: คนนี้ อันนี้ (สรรพนามระบุเฉพาะ dēmōnstrātīvum prōnōmen) คำสรรพนามทั้งหมดนี้มีรูปของทั้ง 3 เพศ 2 พจน์ และ 5 การกดังต่อไปนี้ สรรพนามระบุเฉพาะ m f n m f n m f n sing nōm is ea id hic haec hoc ille illa illud acc eum eam id hunc hanc hoc illum illam illud gen eius eius eius huius huius huius illīus illīus illīus dat eī eī eī huic huic huic illī illī illī abl eō eā eō hōc hāc hōc illō illā illō plūr nōm iī eae ea hī hae haec illī illae illa acc eōs eās ea hōs hās haec illōs illās illa gen eōrum eārum eōrum hōrum hārum hōrum illōrum illārum illōrum dat iīs iīs iīs hīs hīs hīs illīs illīs illīs abl iīs iīs iīs hīs hīs hīs illīs illīs illīs สรรพนามคำถามและประพันธสรรพนาม m f n sing nōm quis/quī quae quid/quod acc quem quam quid/quod gen cuius cuius cuius dat quī quī quī abl quō quā quō plūr nōm quī quae quae acc quōs quās quae gen quōrum quārum quōrum dat quibus quibus quibus abl quibus quibus quibus สรุปรูปคำ *ในบทนี้ไม่มีรูปใหม่ของคำนาม/กริยา กรุณาดูสรุปรูปคำในบทที่ 7...

December 1, 2024

Capitulum VII. Puella et rosa

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 7 การกกรรมรอง ในบทนี้เราพบว่าคำนานเปลี่ยนรูปเมื่อคำนามนั้นทำหน้าที่เป็นกรรมรองของประโยค กล่าวคือเมื่อคำนามนั้นเป็นผู้รับสิ่งของ รูปกรรมรองของคำนามเรียกว่า การกกรรมรอง (cāsus datīvus) คำเพศชาย ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Iūlius servō (Syrō) mālum dat. Iūlius servīs (Syrō et Lēandrō) māla dat. nōminātīvus datīvus servus servō servī servīs คำเพศหญิง ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Iūlius ancillae (Syrae) mālum dat. Iūlius ancillīs (Syrae et Dēliae) māla dat. nōminātīvus datīvus ancilla ancillae ancillae ancillīs คำเพศกลาง ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้...

November 30, 2024

Capitulum VI. Via Latīna

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 6 คำบุพบท คำบุพบทในภาษาละตินรับคำนามในการกต่าง ๆ กัน ในบทที่ 5 เราพบคำบุพบทที่ใช้กับการกแหล่งที่มา ส่วนในบทนี้เราพบคำบุพบทที่ใช้กับการกกรรมตรง ดูตัวอย่างต่อไปนี้ ad: Iūlius ad vīllam it; ad oppidum; ad ancillās. ante: Ursus ante Iūlium est; ante eum; ante vīllam. post: Dāvus post Iūlium est; post eum; post vīllam. inter: Via inter Rōmam et Capuam; inter servōs. prope: Ōstia est prope Rōmam; prope vīllam; prope eam. circum: Circum oppidum mūrus est; circum mēnsam. apud: Mēdus est apud amīcam suam, nōn apud dominum....

November 27, 2024

Capitulum V. Vīlla et hortus

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 5 การกกรรมตรง ในบทนี้เราพบคำในการกกรรมตรงในเพศและพจน์อื่น ๆ มากกว่าในบทที่ 3 คำเพศชาย ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Iūlius nōn ūnum fīlium, sed duōs fīliōs habet. nōminātīvus accūsātīvus singulāris fīlius fīlium plulāris fīliī fīliōs คำเพศหญิง ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Iūlius nōn duās fīliās, sed ūnam fīliām habet. nōminātīvus accūsātīvus singulāris fīlia fīliam plulāris fīliae fīliās คำเพศกลาง ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้...

November 24, 2024

Capitulum IV. Dominus et servī

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 4 การกเรียกขาน คำนามบางคำ (โดยเฉพาะคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -us) มีการกพิเศษที่ชื่อ การกเรียกขาน (cāsus-vocātīvus) การกนี้เป็นรูปที่ใช้เวลาเรียกคำนามดังกล่าว ดูตัวอย่างประโยคนี้ Mēdus Dāvum vocat: “Dāve!” ตัวอย่างอื่น ๆ: Mēde, domine, serve, improbe มาลาสั่งและมาลาบอกเล่า กริยาในภาษาละตินเปลี่ยนรูปในประโยคประเภทต่าง ๆ รูปเหล่านี้เรียกว่า มาลา (modus) ที่ผ่านมาเราพบประโยคบอกเล่า รูปของกริยาในประโยคบอกเล่าเรียกว่า มาลาบอกเล่า (indicātīvus) ในบทนี้เราพบประโยคคำสั่ง รูปของกริยาในประโยคคำสั่งเรียกว่า มาลาสั่ง (imperātīvus) ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Dominus: “Vocā Dāvum!” Servus Dāvum vocat. Dominus: “Tacē et Audī!” Servus tacet et audit. Dominus: “Discēde, serve!” Servus discēdit. จากตัวอย่างข้างบนเราจะเห็นด้วยว่ากริยาในภาษาละตินแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามท้ายคำ มาลาสั่งและมาลาบอกเล่าของกริยาทั้ง 4 กลุ่มมีรูปดังตัวอย่างต่อไปนี้ [1] salūtā, salūtat [2] respondē, respondet [3] sūme, sūmit [4] venī, venit คำศัพท์ใหม่ sacculus ถุง (เล็ก), กระเป๋าสตางค์ pecūnia เงิน nummus เหรียญเงิน mēnsa โต๊ะ baculum ไม้, ไม้เท้า vacuus ว่างเปล่า bonus ดี quattuor สี่ quīnque ห้า septem เจ็ด octō แปด novem เก้า decem สิบ habet มี numerat นับ adest อยู่ abest ไม่อยู่ salūtat ทักทาย tacet เงียบ accūsat กล่าวหา pōnit วาง sūmit หยิบ discēdit จากไป imperat สั่ง pāret ทำตามคำสั่ง nūllus ศูนย์, ไม่มี eius ของเขา (สรรพนาม เจ้าของ เอกพจน์) suus ของเขาเอง (สรรพนามสะท้อน เจ้าของ เอกพจน์) is เขา (สรรพนาม ประธาน เพศชายเอกพจน์) quod ที่ (ประพันธสรรพนาม ประธาน/กรรมตรง เพศกลางเอกพจน์) rūrsus อีก tantum เท่านั้น salvē สวัสดี vocātīvus การกเรียกขาย imperātīvus มาลาสั่ง indicātīvus มาลาบอกเล่า

November 23, 2024

Capitulum III. Puer improbus

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 3 การกประธานกับการกกรรมตรง ในบทนี้เราพบว่าคำนามเปลี่ยนรูปเมื่อคำนามนั้นทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยคด้วย รูปกรรมตรงของคำนามนี้เราเรียกว่า การกกรรมตรง (cāsus accūsātīvus) ส่วนรูปประธานของคำนามเราเรียกว่า การกประธาน (cāsus nōminātīvus) คำเพศชาย ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Mārcus rīdet. Quīntus Mārcum pulsat. Mārcus Quīntum pulsat. Quīntus plōrat. nōminātīvus accūsātīvus Mārcus Mārcum Quīntus Quīntum จะเห็นได้ว่าเมื่อคำเพศชายที่ลงท้ายด้วย -us มีหน้าที่เป็นกรรมตรงในประโยค ท้ายคำนั้นจะเปลี่ยนเป็น -um ตัวอย่างอื่น ๆ: Iūlius, Iūlium; fīlius, fīlium; puer, puerum; eum คำเพศหญิง ดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ Iūlia cantat. Mārcus Iūliam pulsat. Iūlia Aemiliam vocat. Aemilia venit....

November 23, 2024

Capitulum II. Familia Rōmāna / Liber tuus Latīnus

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 2 ท้ายคำนาม ในบทนี้เราพบคำนามเพศชาย vir ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย -us เหมือนในบทที่แล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าคำนามเพศเดียวกันไม่ได้ลงท้ายเหมือนกันเสมอไป เวลาท่องจำคำนามก็ต้องจำด้วยว่าคำนามนั้นเป็นเพศอะไร อย่างไรก็ดี คำว่า vir ก็เปลี่ยนรูปเหมือนกับคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -us คำอื่น ๆ นอกจากนั้น เมื่อเราดูประโยคแรกของบทนี้ Iūlius vir Rōmānus est. ก็จะเห็นว่าคำคุณศัพท์ยังคงมีรูปตามเพศชายเช่นเดิม การก - การกเจ้าของ คำนามในภาษาละตินเปลี่ยนรูปตามหน้าที่ของมันในประโยคดังที่ได้กล่าวไว้ในคำอธิบายบทที่แล้ว รูปต่าง ๆ ของคำนามเรียกว่า การก (cāsus) คำนามในภาษาละตินมีด้วยกัน 5 การก ในบทนี้เราพบกับการกใหม่ที่บอกเจ้าของ เรียกว่า การกเจ้าของ (cāsus genitīvus) ดูตัวอย่างในทั้งสามเพศในประโยคต่อไปนี้ กรณีของคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -us Iūlius dominus servī (Dāvī) est. Iūlius dominus servōrum (Dāvī et Mēdī) est. กรณีของคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วย -a Aemilia domina ancillae (Syrae) est. Aemilia domina ancillārum (Syrae et Dēliae) est....

September 22, 2024

Capitulum I. Impērium Rōmānum / Litterae at numeri

อธิบายไวยากรณ์ สรุปไวยากรณ์จากบทที่ 1 คำศัพท์เปลี่ยนรูป คำศัพท์ภาษาละตินเปลี่ยนรูปตามหน้าที่ของมันในประโยคหรือตามความสัมพันธ์ของมันกับคำศัพท์อื่น ๆ ในประโยค ตัวอย่างจากในบทอ่านเช่น Italia มีความหมายว่า “อิตาลี” เมื่อใช้ในความหมายว่า “ในอิตาลี” จะเปลี่ยนเป็น in Italiā magnus เป็นคำคุณศัพท์ที่มีความหมายว่า “ใหญ่” เมื่อใช้ขยายคำว่า fluvius (“แม่น้ำ”) จะอยู่ในรูปเดิมคือ fluvius magnus (“แม่น้ำใหญ่”) แต่เมื่อใช้ขยายคำว่า oppidum (“เมือง”) จะเปลี่ยนเป็น oppidum magnum (“เมืองใหญ่”) บางภาษาเช่นภาษาไทยหรือภาษาจีนไม่มีการเปลี่ยนรูปเช่นนี้ คำศัพท์จะคงรูปเดิมและออกเสียงดังเดิมไม่ว่าจะมีหน้าที่ใดหรือความสัมพันธ์เช่นใดกับคำศัพท์อื่น ๆ ในประโยค ขณะเดียวกันบางภาษาเช่นภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปบ้างแต่ไม่มากเท่าภาษาละติน เช่น river (“แม่น้ำ”) เปลี่ยนเป็น rivers เมื่อกล่าวถึงแม่น้ำมากกว่าหนึ่งสาย หรือ he (สรรพนาม “เขา”) เปลี่ยนเป็น his เมื่อใช้ในความหมายว่า “ของเขา” ในภาษาละตินคำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ จะเปลี่ยนรูปเสมอ ในบทนี้เราจะพูดถึงการเปลี่ยนรูปแค่เบื้องต้นเท่านั้น ภาษาละตินมีการเปลี่ยนรูปมากมายและผู้เรียนจะค่อย ๆ เรียนการเปลี่ยนรูปต่าง ๆ ในบทเรียนต่อจากนี้ เพศของคำนาม คำนามในภาษาละตินจัดเป็นสามเพศ: เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง เพศของคำนามมักจะเป็นไปตามเพศทางชีววิทยาของสิ่งที่คำนามชี้ เช่น vir แปลว่า “ผู้ชาย” เป็นคำนามเพศชาย puella แปลว่า “เด็กหญิง” เป็นคำนามเพศหญิง อย่างไรก็ดีสิ่งที่ไม่มีเพศก็ถูกจัดเป็นเพศต่าง ๆ ด้วย เช่น fluvius “แม่น้ำ” เป็นคำนามเพศชาย īnsula “เกาะ” เป็นคำนามเพศหญิง oppidum “เมือง” เป็นคำนามเพศกลาง...

September 22, 2024

เริ่มเรียนภาษาละติน

ผมเริ่มเรียนภาษาละตินอย่างจริง ๆ จัง ๆ กลางปี 2024 ตอนนี้ที่เขียนบทความนี้ก็ยังไปไม่ถึงไหน อย่างไรก็ตาม ผมอยากบันทึกว่าผมเรียนภาษาละตินอย่างไร เผื่อจะมีคนที่สนใจเรียนเหมือนกัน แต่ก่อนจะแนะนำวิธีการเรียน ผมขอเล่าสั้น ๆ ถึงเป้าหมายของผมก่อน เป้าหมายการเรียนภาษาละติน ผมอยากจะแปลหนังสือภาษาละตินเป็นภาษาไทย ถ้าดูในหน้า “เกี่ยวกับ panot.ch” ก็จะเห็นว่า นอกเหนือจากงานประจำของผม ผมยังเคยทำงานแปลหนังสือจำนวนพอสมควร จากทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น แต่ในตอนนี้ผมสนใจเกี่ยวกับปรัชญา และเห็นว่ามีหนังสือต้นฉบับเกี่ยวกับปรัชญาจำนวนที่เขียนด้วยภาษาละติน ผมเลยอยากจะอ่านและแปลหนังสือเช่นนี้เป็นภาษาไทย ไม่ใช่แปลจากบทแปลภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น อยากจะแปลโดยตรงจากภาษาละตินเลย ในฐานะผู้ที่อ่านเขียนและใช้ภาษาอังกฤษได้คล่อง ผมมองว่าการเรียนภาษาละตินไม่ได้ยากจนเกินไป แน่นอนว่าคนไทยเราคุ้นชินกับภาษาอังกฤษมากกว่า และไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษก็คล้ายกับภาษาไทยมากกว่า แต่คำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวนมากก็มีรากจากภาษาละติน และสองภาษานี้ก็เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันอีกด้วย เอาล่ะ ต่อจากนี้ผมขอพูดถึงวิธีที่ผมเรียนภาษาละติน Lingua Latina per se illustrata ผมใช้หนังสือ “Lingua Latina per se illustrata” (LLPSI) เป็นแกนหลักในการเรียนขั้นเบื้องต้น หนังสือเล่มนี้เป็นบทอ่านทั้งหมดเป็นภาษาละติน โดยเริ่มจากประโยคง่าย ๆ ที่ผู้เริ่มเรียนที่รู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันสามารถเข้าใจได้ง่าย ประโยคแรกในหนังสือเล่มนี้คือ “Rōma in Italiā est.” คนที่พอจะรู้ภาษาอังกฤษคงจะเดาได้ว่าประโยคนี้แปลว่า “โรมอยู่ในอิตาลี” วิธีการเรียนแบบนี้เรียกว่าการเรียนแบบ inductive หมายความว่าผู้เรียนไม่ได้เรียนจากภาษาที่ตนรู้ แต่พยายามเข้าใจภาษาที่เรียนจากตัวอย่าง วิธีนี้ว่ากันว่าจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาใหม่ได้โดยไม่ต้องแปล จะว่าไป ผมก็ใช้วิธีนี้เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย วิธีเรียนก็คือค่อย ๆ อ่านทำความเข้าใจเรื่องราวในหนังสือ โดยดูจากบริบท พยายามเปิดพจนานุกรมให้น้อยที่สุด แต่อ่านซ้ำหลาย ๆ รอบ...

September 11, 2024